จากเล็กจนโต เราสังเกตหรือไม่คะว่าร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงขนาดจากตัวเล็กสมัยเป็นทารก มาเป็นขนาดร่างกายแบบปัจจุบันนี้ได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่เป็นแรงขับเคลื่อนก็คือระบบย่อยอาหารของเรา และระบบย่อยอาหารก็ซับซ้อนพอที่จะสร้างปัญหาให้กับเราเอาง่ายๆ หนึ่งในปัญหานั้นก็คือ อาการท้องผูก นั่นเองระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารของคนเรานั้นมีประสิทธิภาพสูงมาก หลังจากที่เรารับประทานอาหารเข้าไปแล้ว เพียงไม่กี่ชั่วโมง มันก็จะจัดการแยกเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ออกมา ผ่านกระบวนการต่างๆ และจัดการนำอาหารที่อยู่ในรูปที่ร่างกายใช้งานได้ ใส่เข้าไปยังกระแสเลือด แต่นั้นยังไม่จบเพียงแค่นั้น ระบบย่อยอาหารยังต้องจัดการนำเศษอาหารที่เหลือใช้ออกจากร่างกายอีกด้วย เศษอาหารนั้นจะวิ่งผ่านจากกระเพาะอาหาร มายังลำไส้เล็กที่ยาวกว่า 6 เมตร จากนั้นก็จะวิ่งผ่านมาเก็บไว้ที่ลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นที่ที่นำเอาน้ำออกจากเศษอาหารส่วนที่เหลือ ก่อนที่จะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายไป กระบวนการทั้งหมดนี้โดยมากแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน
การขับถ่ายของเรา
ความถี่่ในการขับถ่ายหนักของคนเรานั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับ อายุ อาหาร และกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน บางคนอาจจะขับถ่ายถึง 3 ครั้งต่อวัน ในขณะที่บางคนอาจจะห่างถึง 3 วันต่อครั้งก็มี อย่างไรก็ตาม ยิ่งของเสีย (อุจจาระ) ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเท่าไร ก็ยิ่งเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็งขึ้นได้มากเท่านั้น และยิ่งแข็งมากขึ้น ก็ยิ่งยากต่อการถูกขับเคลื่อนออกมา อุจจาระปกติจะไม่แข็งหรืออ่อนนุ่มมากเกินไป และไม่ควรต้องใช้ความพยายามมากนักในการขับออกมา เพราะหากเป็นอย่างนั้นแล้ว ก็อาจจะหมายถึงว่าเรากำลังมีอาการท้องผูกนั่นเอง ลองดูอาการท้องผูกกันนะคะ
อาการท้องผูก
- อุจจาระแห้ง แข็ง และขับถ่ายยากจนอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
- ต้องใช้แรงมากเกินไปในการขับถ่าย
- ไม่ขับถ่ายเกินกว่า 3 วัน
- เกิดอาการปวดท้อง ซึ่งจะหายไปเมื่อได้ขับถ่าย
- มีเลือดปนมากับอุจจาระเนื่องจากการฉีกขาดหรือริดสีดวง
- มีอาการท้องเสียปนอยู่ระหว่างการขับถ่ายแบบปกติ